odini BLACk Schroders | When Chips are the New Oil. เมื่อชิปอาจกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด

odini BLACk Schroders | When Chips are the New Oil. เมื่อชิปอาจกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด

🛢️ When Chips are the New Oil. เมื่อชิปอาจกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด

รู้หรือไม่ว่าชิปเซมิคอนดักเตอร์เป็นสินค้าที่ซื้อขายกันมากสุดอันดับ 4 ของโลก รองจากเพียงน้ำมันดิบ ชิ้นส่วนยานยนต์ และน้ำมันสำเร็จรูป เพียงเท่านั้น
ถ้านับมูลค่าของบริษัทเทคโนโลยีจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดของโลก แน่นอนว่าจะมีบริษัทอย่าง Apple Microsoft Alphabet Facebook (Meta) สัญชาติอเมริกัน และ Tencent สัญชาติจีนติดอันดับ แต่ยังมีบริษัทอีกแห่งนั่นคือ TSMC สัญชาติไต้หวันซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แม้แต่ Apple เองก็เป็นลูกค้า รวมไปถึง Microsoft Alphabet Meta และ Tencent ต่างก็ต้องพึ่งพาชิปเซมิคอนดักเตอร์ของ TSMC
ณ สิ้นปี 2021 TSMC มีมูลค่าตามราคาตลาดกว่า 20 ล้านล้านบาท เติบโต 3 เท่าตัวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก คิดเป็น 114% ของ GDP ประเทศไทย และสูงกว่ามูลค่าของทุกบริษัทจดทะเบียนของทั้งประเทศไทยรวมกัน
แล้วชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ว่านี้คืออะไร นำไปทำอะไรได้บ้าง?
โลกเกิด Supply Chain Disruption มีผู้เสียประโยชน์ แต่มีผู้ได้ประโยชน์?
TSMC มีที่มาอย่างไร จากนี้ไปจะเป็นอย่างไร?
❓ ชิปเซมิคอนดักเตอร์คืออะไร นำไปทำอะไรได้บ้าง ทำไมถึงกลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด?
เซมิคอนดักเตอร์โดยมากคือวงจรรวม (Integrated circuits หรือ Chips) ที่ประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์ ไดโอด รีจิสเตอร์ ตัวเก็บประจุ บนแผงซิลิคอน
โดยชิปดังกล่าวเป็นส่วนประกอบสำคัญในสิ่งประดิษฐ์หลากหลายสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องบิน หน่วยควบคุม คอมพิวเตอร์ รถยนต์ สมาร์ตโฟน โทรทัศน์ ไปจนถึงเครื่องซักผ้า ฯลฯ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์
จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการกำเนิดของ 5G คลาวด์คอมพิวติง ปัญญาประดิษฐ์ รถยนต์ไฟฟ้า นั้นจะขาดสิ่งนี้ไปได้
เมื่อปี 2021 บริษัทอย่าง Neuralink ได้ประสบความสำเร็จในการทดสอบฝังไมโครชิปในสมองลิง โดยเป็นการเล่นเกมผ่านการสั่งการด้วยความคิดเพียงเท่านั้น เป้าหมายเพื่อต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย
การทำงานของชิปจึงเปรียบเสมือนมันสมองของมนุษย์ นั่นคือ หากมนุษย์มีมันสมองฉันใด ชิปก็เป็นตัวควบคุมประมวลผลการสั่งการฉันนั้น
🏆 โลกเกิด Supply Chain Disruption มีผู้เสียประโยชน์ แต่มีผู้ได้ประโยชน์?
ผลจากการขาดแคลนชิปกับ Supply Chain Disruption ได้ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของทั้งโลกเป็นผู้เสียประโยชน์มหาศาล คิดมูลค่ารายได้ที่สูงกว่า 7 ล้านล้านบาท ในปี 2021 ผลสืบเนื่องคือตลาดรถยนต์มือสองมีราคาแพงขึ้นทั่วโลก และผลพวงยังไม่ได้จบเพียงเท่านั้นเพราะยังได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างในหลายอุตสาหกรรม อย่างเครื่องเล่นเกม Play station 5 ที่ขาดตลาด ต่างก็ตกสถานการณ์ลำบากนี้เช่นเดียวกัน ด้วยระยะเวลารอชิปกินเวลานานถึง 22 สัปดาห์ บางประเภทขึ้นไปถึง 52 สัปดาห์ จากปกติแค่เพียง 4-8 สัปดาห์ (เม.ย. 2021) สถานการณ์ขาดแคลนนี้มีแนวโน้มยืดยาวไปถึงปี 2023
และการผลิตชิปขึ้นมาใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเร็ววัน เพราะการผลิตโรงงานต้องใช้เวลาถึงหลายปี ใช้เงินกว่าระดับหลายหมื่นล้านบาทขึ้นไป รวมถึงใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนา
ผู้ที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์นี้คงไม่พ้น TSMC ผู้นำด้านการผลิตชิป (Foundries) ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเกินกว่า 50% จากทั้งหมด ทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างบริษัท Samsung กว่า 2 เท่าตัว ในช่วงปี 2020-2022 บริษัทได้ผลิตชิปออกมาเต็มกำลังการผลิต วางแผนปรับราคาเพิ่มขึ้นอีก และประกาศทุ่มลงทุนเพิ่มเติม ท่ามกลางบริษัทกลุ่มเทคโนโลยีอื่นลดพนักงานรวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีนัก สำหรับผลประกอบการไตรมาส 2/65 บริษัทจึงสามารถทำรายได้โตกว่า 44% YoY และกำไรสุทธิต่อหุ้นโต 76% YoY ทุบสถิติกำไรใหม่ที่ราว 2.8 แสนล้านบาท
ที่น่าสนใจคือทุก ๆ รายได้ 100 บาท ที่เกิดขึ้น
TSMC สามารถสร้างกำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิถึง 59 และ 44 บาท ตามลำดับ
คู่แข่งรองลงมาอย่าง Samsung สร้างกำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิได้ 40 และ 14 บาท ตามลำดับ
ขณะที่ลูกค้าอย่าง Apple สร้างกำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิได้ 43 และ 27 บาท ตามลำดับเพียงเท่านั้น
.
🇹🇼 TSMC มีที่มาอย่างไร จากนี้ไปจะเป็นอย่างไร?
TSMC ย่อมาจาก Taiwan Semiconductor Manufacturing Company ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 35 ปีที่แล้วในปี 1987 โดยคุณ Morris Chang จบการศึกษาปริญญาตรีและโทจาก MIT ด้วยเป้าหมายที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมกับพันธกิจของรัฐบาลไต้หวันที่จะยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศในเวลานั้น
รัฐบาลไต้หวันได้ใช้โมเดลตัวอย่างจาก Silicon Valley โดยให้บริษัทขนาดเล็กก่อตัวเป็นคลัสเตอร์ และให้บริษัทเหล่านั้นได้รับทรัพยากรแค่ระดับที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้ง Industrial Technology Research Institute (ITRI) รับถ่ายโอนความรู้และเทคโนโลยีจากพันธมิตร สถานที่ประกอบการ และแรงจูงใจทางภาษี จุดสำคัญคือไม่ได้มีการทุ่มเงินสนับสนุนเป็นปัจจัยหลัก ไม่แม้กระทั่งช่วยสร้างเกราะป้องกันจากการแข่งขัน กล่าวคือเป็นการทำให้แข็งแกร่งและยืนหยัดได้ด้วยตนเอง ขณะที่กลยุทธ์ของเกาหลีใต้ที่ใช้การทุ่มเงินมหาศาลจากรัฐบาล หรือประเทศอื่นที่ใช้การกีดกันการแข่งขันจากต่างชาติ
ปัจจุบันมีเพียง TSMC และ Samsung เท่านั้นที่สามารถผลิตชิปขนาด 5 นาโนเมตร ที่ใช้ในโทรศัพท์สมาร์ตโฟนอย่างไอโฟน แต่ TSMC ก็ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% อย่างไรก็ตามบริษัทก็ไม่หยุดที่จะพัฒนาต่อ นี่คงจะเป็นสาเหตุว่าทำไมเทคโนโลยีได้ก้าวล้ำหน้าไปไกลกว่าคู่แข่งขันชนิดทิ้งห่าง
แต่ที่สำคัญที่สุด การแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ได้ทำให้ต้นทุนการเข้าถึงสมาร์ตโฟนและอุปกรณ์มีราคาต่ำลง ขณะที่ความสามารถในการประมวลผลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทั้งโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่อาจต้องการสิ่งเหล่านี้มากที่สุด
.
ให้ Schroders ผู้บริหารพอร์ตลงทุนระดับโลกดูแลคุณแบบ “ซูเปอร์วีไอพี”
นโยบายการลงทุนภายใต้แอปพลิเคชัน odini ผ่านพอร์ต Schroders Growth & Income ลงทุนใน TSMC โดยบริษัทจัดการลงทุนระดับโลก Schroders เป็นที่ปรึกษาในการจัดสรรสินทรัพย์ ด้วยกลยุทธ์กระจายการลงทุนแบบยืดหยุ่นไม่มีข้อจำกัด ด้วยการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์และสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง

#odini 

#แอปลงทุนกองทุนรวมอัตโนมัติ

#ลงทุนง่ายได้ทุกคน

 

**ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต**

**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน**

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.