เมื่อเศรษฐกิจศรีลังกาวิกฤตหนัก ขาดแคลนน้ำมัน-อาหาร ประเทศไม่มีเงินจ่าย บ้านเมืองระส่ำระส่าย

เมื่อเศรษฐกิจศรีลังกาวิกฤตหนัก ขาดแคลนน้ำมัน-อาหาร ประเทศไม่มีเงินจ่าย บ้านเมืองระส่ำระส่าย

เมื่อเศรษฐกิจศรีลังกาวิกฤตหนัก ขาดแคลนน้ำมัน-อาหาร ประเทศไม่มีเงินจ่าย บ้านเมืองระส่ำระส่าย

.

สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจศรีลังกาเรียกได้ว่าเข้าขั้น “วิกฤต” โดยล่าสุดทางรัฐบาลออกมาประกาศว่าเหลือน้ำมันใช้ในประเทศเพียงแค่อีกหนึ่งวันเท่านั้น และไม่สามารถนำเข้าน้ำมันเพิ่มได้อีกแล้ว

.

โดยราคาน้ำมันในประเทศ ล่าสุดพบว่าราคาน้ำมันทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบนซินหรือดีเซล ปรับตัวขึ้นราว 3 เท่า เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า แต่ความน่ากลัวยังไม่จบเท่านี้ เพราะต่อให้ประชาชนมีเงิน ก็ซื้อน้ำมันไม่ได้ โดยครั้งสุดท้ายที่มีการนำเข้าน้ำมันคือช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่เมื่อเรือมาเทียบท่าแล้วแต่กลับไม่สามารถนำน้ำมันขึ้นฝั่งได้ เพราะประเทศไม่มีเงินจ่าย

.

ไม่เพียงแต่น้ำมันเท่านั้น ศรีลังกายังขาดแคลนสินค้าจำอย่างอาหารอีกด้วย ที่ปัจจุบันกำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงประชากร ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) ปรับตัวขึ้นราว ๆ 8 เท่า เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า

.

แน่นอนการประท้วงโดยประชาชนและการก่อจราจลยังดำเนินต่อเนื่อง

.

แล้วอะไรคือชนวนเหตุให้ศรีลังกาเดินทางมาถึงจุดนี้ได้?

การบริหารงานของรัฐเป็นชนวนเหตุสำคัญหรือไม่?

ถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนี้อย่างไรได้บ้าง?

.

เศรษฐกิจศรีลังกาเผชิญวิกฤตหนักได้อย่างไร?

.

ปัญหาหลักที่ศรีลังกาเผชิญอยู่คือปัญหาทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศที่ไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ทำให้ศรีลังกาไม่สามารถนำเข้าสินค้าที่จำเป็นให้แก่ประชาชนได้ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มพลังงานและอาหาร  ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่ เกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของทางรัฐบาลมาตั้งแต่ต้น

.

ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา รัฐบาลประเทศศรีลังกามีการขาดดุลทางบัญชีเดินสะพัดมาตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือพูดง่าย ๆ คือมีการใช้จ่ายเงินต่างประเทศเกินตัวจนทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศนั้นไหลออกไปทีละน้อย

.

โดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศ ค่อย ๆ บวมขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 42% ในปี 2010 มาเป็นราว ๆ 63% ในช่วงเดือนมีนาคมปี 2022 (ข้อมูลจาก Trading Economics,  CEIC)  

.

ยิ่งไปกว่านั้นในปี 2019 ที่ประธานาธิบดี โคฐาภยะ ราชปักษะ เข้ารับตำแหน่งพร้อมนโยบายลดการจัดเก็บภาษีจากเดิมที่เคยเก็บ 15% ลดลงเหลือ 8% เรียกได้ว่ารัฐบาลมีรายได้ลดลงถึงเกือบครึ่งหนึ่ง

.

จากแต่เดิมที่รัฐใช้จ่ายแบบขาดดุลอยู่แล้ว เมื่อรายได้ลดลงอีก ฐานะก็ย่ำแย่ลงไปอีกเช่นกัน และนั่นหมายถึงการเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นหนี้ยังเป็นสกุลเงินต่างประเทศมาก ที่เศรษฐกิจศรีลังกาอยู่ได้นั้นเกิดจากการหมุนเงินพร้อมกับกู้เพิ่มไปเรื่อย ๆ การบริหารแบบดังกล่าวไม่ต่างกับการสร้างระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด 

.

คนที่มาจุดชนวนระเบิดครั้งนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ Covid-19 

 

การระบาดของCovid-19 เป็นตัวจุดชนวนระเบิดเวลาที่ถูกซุกไว้

.

ในช่วงต้นปี 2020 เมื่อเกิดการระบาดของ Covid-19 ทำให้ฟันเฟืองสำคัญของประเทศอย่างภาคการท่องเที่ยว ที่เป็นแหล่งรายได้โดยเฉพาะเงินตราต่างประเทศ ต้องหยุดชะงักลง

.

โดยตัวเลขรายได้จากการท่องเที่ยวของศรีลังกาในปี 2021 นั้นลดลงจากเดิมเมื่อปี 2019 ไปถึง 94% (ข้อมูลจาก CEIC) และในเมื่อภาครัฐเองรู้ตัวว่าไม่สามารถหาเงินทุนสำรองที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศเข้ามาได้มีจึงมีการสั่งห้ามการนำเข้าสินค้าหลายชนิดจากต่างประเทศ เพื่อควบคุมเงินทุนสำรองตรงนี้เอาไว้ โดยหนึ่งในสินค้าที่สำคัญอย่างยิ่งที่ถูกรัฐห้ามนำเข้าคือปุ๋ยเคมี

.

#ยิ่งแก้เหมือนยิ่งแย่ ประชาชนเดือดร้อนเป็นแน่แท้ แน่นอนผิดนัดชำระหนี้เงินกู้

.

ในช่วงเดือนเมษายนปี 2021 จู่ ๆ รัฐบาลก็สั่งดำเนินการให้ห้ามนำเข้าปุ๋ยเคมี แล้วให้ประชาชนในประเทศหันมาพึ่งพาการเกษตรอินทรีย์แทน 

.

การเปลี่ยนแปลงนโยบายแบบกระทันหัน ส่งผลให้ผลผลิตการเกษตรในประเทศลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ผลผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ กลายเป็นต้องนำเข้าอาหาร ราคาก็ค่อย ๆ เริ่มสูงขึ้น ซ้ำร้ายศรีลังกายังเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้า อาทิ ชาซีลอน และยางเป็นหลัก   ก็สามารถส่งออกได้น้อย รายรับเงินตราต่างประเทศก็ลดลง 

.

และปีนี้เองราคาอาหารทั่วโลกก็ปรับสูงขึ้น การพึ่งพาการนำเข้า ยิ่งซ้ำเติมให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วรายจ่ายเงินตราต่างประเทศก็เพิ่มขึ้น ทำให้สถานการณ์การขาดแคลนเงินสกุลต่างประเทศเลวร้ายขึ้นไปอีก โดยในปัจจุบันราคาอาหารในศรีลังกาพุ่งสูงขึ้นเป็น 80.1% ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับ ช่วงปี 2019 ก่อนการระบาดของ Covid ทำให้เศรษฐกิจทรุดหนักอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชากรราว ๆ 20 ล้านคนในประเทศ ซึ่งถ้าให้สรุปความเดือดร้อนของประชาชนสั้น ๆ คงสรุปได้ว่าเป็น “ไม่มีเงิน ไม่มีงาน ไม่มีแม้กระทั่งสินค้าจำเป็น”

.

เพื่อพยุงเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อ รัฐบาลจึงตัดสินใจกู้เงินขึ้นอีกหลายครั้งทั้งจากอินเดียและจีน โดยในปี 2022  นี้ศรีลังกามีหนี้ที่ต้องชำระถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทว่าจากข้อมูลเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคม พบว่าศรีลังกามีเงินสำรองเหลือแค่ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เท่านั้น (ข้อมูลจาก Trading Economics) 

.

จากตัวเลขจะเห็นได้ว่าต่อให้ใช้เงินทุนสำรองทั้งประเทศ ไม่มีทางชำระหนี้ได้เลย และในเมื่อประเทศไม่มีรายได้เข้ามา การผิดนัดชำระหนี้จึงเกิดขึ้น

.

สถานการณ์ปัจจุบัน ศรีลังกามีนัดชำระดอกเบี้ยเงินกู้รวมระยะเวลาผ่อนผันแล้วราว ๆ 78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้เกิดการผิดชำระหนี้เกิดขึ้น

นอกจากนั้นแล้วธนาคารกลางทั่วโลกยังได้ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว ได้ส่งผลให้สุดท้ายประเทศบอบช้ำ ค่าเงินอ่อนยวบเกือบ 30% เมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ นับแต่ต้นปีจนถึงปลายพฤษภาคมที่ผ่านมา (ข้อมูลจาก Bloomberg) เป็นตัวยิ่งซ้ำเติมภาระหนี้ดังกล่าวและต้องจ่ายการนำเข้าด้วยราคาที่แพงขึ้น

.

ซึ่งหนี้ที่ว่าก็ไม่ได้ตกเป็นภาระใครที่ไหน แต่เป็นประชาชน

.

ไม่มีเงินใช้หนี้ ก็เลยไม่จ่ายหนี้เสียเลย

.

การผิดชำระหนี้ส่งผลโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือ ทำให้ศรีลังกาอาจจะกู้ยืมเงินได้ยากกว่าเดิมในอนาคต และยังทำให้ความเชื่อมั่นในค่าเงินลดลงอีกด้วย โดยในปัจจุบันรัฐบาลศรีลังกายืนยันว่าจะไม่มีการชำระหนี้ จนกว่าจะปรับโครงสร้างหนี้ให้แล้วเสร็จ

.

ถอดบทเรียนจากศรีลังกา ประเทศไหนมีโอกาสเป็นรายต่อไปไทยจะรอดไหม?

.

จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ประเทศศรีลังกามาถึงจุดนี้ได้ จุดหนึ่งมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด แต่ดันมาซ้ำร้ายด้วยปัจจัยแวดล้อม

.

และยิ่งในช่วงที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศมีนโยบายที่ตึงตัวมากขึ้น ย่อมส่งผลให้เกิดการไหลออกของสกุลเงินในประเทศบางประเทศที่มีลักษณะคือ มีหนี้นอกประเทศสูง มีบัญชีแบบขาดดุลสะพัดมาโดยตลอด มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศต่ำ เงินเฟ้อรุนแรง และค่าเงินอ่อน อาทิ กลุ่มประเทศ LATAM ตุรกี ที่มีโอกาสเผชิญกับวิกฤตได้ต่อไป

.

ในส่วนของประเทศไทย ปัจจุบันถึงแม้จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ และมีหนี้ต่างประเทศราว 1.9 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ยังน้อยกว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่มีราว 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเพียงพอรองรับการนำเข้าถึง 8 เดือน (3 เดือนขึ้นไปจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย) ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการได้รับบทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผ่านมาแล้วในช่วงปี 2540 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการสำรองเงินตราต่างประเทศสูงซึ่งสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่อย่างไรประเด็นนี้ก็ยังน่าจับตามองอยู่เสมอ เนื่องจากเงินเฟ้อก็สูงในรอบ 13 ปี จึงนับว่าเป็นเรื่องท้าทายของธนาคารแห่งประเทศไทยมากทีเดียว

.

#การล่มสลายของศรีลังกาเป็นบทเรียนว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลงทุนในประเทศที่มีเสถียรภาพทาด้านต่างประเทศโดยเฉพาะในบริบทปัจจุบัน

.

ถึงแม้ว่าเราจะไม่ใช่คนศรีลังกา แต่จะเห็นว่า ถ้าหากเราตัดสินใจผิดไปลงทุนในประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางด้านต่างประเทศ นั่นอาจนำมาสู่หายนะของพอร์ตการลงทุนได้ จะดีกว่าไหม ถ้าเราเลือกลงทุนเฉพาะประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีเสถียรภาพทางการเงินที่ดี ซึ่งแน่นอนว่าการจะมองหาประเทศเหล่านั้นได้ อาจจะต้องมีความเข้าใจทางด้านเศรษฐศาสตร์มหภาคพอสมควร 

.

#ถ้าเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นอะไรที่เข้าถึงยากสำหรับคุณ ลองให้ odini BLACK Ultimate Allocation ช่วยดีกว่าไหม ?

.

เพราะ odini BLACK Ultimate Allocation มีนโยบายการลงทุนแบบความคล่องตัวช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงกระจายเงินลงทุนไว้ในหลากหลายสินทรัพย์และประเทศจากทั่วโลก ที่

.

สำคัญคือช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนไปได้พร้อมกัน จากทีมงานผู้เชี่ยวชาญน รวมทั้งมีการปรับพอร์ตให้อัตโนมัติ ทำให้ปรับเปลี่ยนสถานะการลงทุนได้อย่างทันท่วงที 

.

หากสนใจ ลงทุนผ่านพอร์ต odini BLACK Ultimate Allocation

และอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE odini แอปลงทุนอัตโนมัติในกองทุนรวม ด้วย Robo-advisor

.

**ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต**
**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน**
No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.